รวมรวมบทความเกี่ยวกับไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

รวบรวมบทความเกี่ยวกับไวร์เมชครับ

แชร์ให้เพื่อน :

มารู้จักกับตะแกรงเหล็กไวร์เมช (WIREMESH)

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช,วายเมท,ไวเมท (Wire Mesh)

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh)หรือ ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) ทอติดกันเป็นผืน มีขนาดเส้นลวดขนาดต่างๆตั้งแต่ 3 มม.- 6 มม. อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้าทำให้จุดตัดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ระยะห่างของเส้นลวดหรือที่นิยมเรียกว่า @มีหลายขนาด เช่น 15*15 นิ้ว / 20*20 นิ้ว / 25*25 นิ้ว สามารถตัดเป็นแผงและเป็นม้วนได้ตามความต้องการโดยไม่เสียเศษ จะใช้แทนการผูกเหล็กเส้นธรรมดาทั่วไปเป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และแรงงานได้มากกว่า 80% และมีความสม่ำเสมอของตะแกรงที่แน่นอน

การใช้งานไวร์เมชนั้นจะนำไปใช้เพื่อเป็นฐานรับแรงหรือรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง ที่นิยมมากๆก็คือนำไปวางเพื่อทำพื้นถนน ทั้งนี้เพราะช่วยให้ถนนรับแรงและน้ำหนักได้มากขึ้น ไม่แตกเมื่อรับน้ำหนักมากๆและยังช่วยยึดเกาะพื้นถนนได้ดีอีกด้วย 


ขนาดของตะแกรงไวร์เมช

ขนาดลวด (มม.) ชนิดลวด ขนาดระยะห่าง (@) ขนาดตาราง สั่งผลิตได้
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 15*15 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน

แชร์ให้เพื่อน :

ขนาดไวร์เมชที่เหมาะสมกับงานแต่ละอย่าง

แชร์ให้เพื่อน :

สวัสดีครับ สำหรับช่างมือใหม่ที่ยังไม่ค่อยชำนาญในการเลือกใช้ตะแกรงไวร์เมช วันนี้เรามาดูกันดีกว่าครับว่า ตะแกรงไวร์เมชที่ใช้รองเพื่อปูคอนกรีตนั้น หรือเพื่อเสริมความแข็งแรงคอนกรีตนั้น มีขนาดและการใช้งานอย่างไรบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับหน้างานหรืองานที่ต้องการใช้ครับ โดยประสบการณ์ของผมที่ขายไวร์เมชมานาน พอจะสรุปได้ดังนี้ ครับ

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ตะแกรงไวร์เมชนั้น คือเส้นลวดหรือเหล้กเส้นขนาดต่างๆ ที่นำมาทำเป็นตะแกรงเพื่อใช้ปูคอนกรีต เพราะฉะนั้นความแข็งแรงจึงขึ้นอยู่กับขนาดของเหล็กเส้นและระยะห่างของตะแกรงแต่ละช่อง 

  • ตะแกรงไวร์เมชขนาด 3 มม. ตาห่างตั้งแต่ 10*10 ซม. – 25*25 ซม. นั้นส่วนใหญ่มักจะใช้ในงานปูพื้นบ้านโดยทั่วไป พื้นอาคารเป็นส่วนใหญ่ครับ 
  • ตะแกรงไวร์เมช ขนาด 4 มม. ตาห่าง 25*25 ซม. หรือ 20*20 ซม. ส่วนใหญ่ใช้ปูพื้นบ้าน โรงรถ ลานจอดรถ โรงงาน 
  • ตะแกรงไวร์เมชตั้งแต่ 6 มม. สามารถใช้ปูถนนได้เพราะสามารถรับน้ำหนักได้
  • ตะแกรงไวร์เมช 9 มม. หรือ 12 มม. ใช้ปูถนนที่ต้องการการรับแรงที่มากและรับน้ำหนักๆมาก 

จากข้อมูลเบื้องต้นเป็นข้อมูลคร่าวๆนะครับ ซึ่งตามที่ผมเข้าใจ สำหรับการใช้งานจริงๆ ต้องให้ช่างหรือผู้ที่ชำนาญในการคำนวณขนาดของไวร์เมชอีกทีครับ 

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช สำหรับขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช ลูกค้าควรทำตามขั้นตอนดังนี้ครับ 


2. แจ้ง รายละเอียดตามนี้ครับ

  • ชื่อ ชื่อบริษัท เบอร์โทร  /
  • ไวร์เมช ลวด กี่ มม / ตาเท่าไหร่ / ใช้กี่ ตรม.
  • ส่งหน้างานที่ไหน

3. รอเซลล์ติดต่อกลับ ครับ

แชร์ให้เพื่อน :

กัลวาไนซ์ไวร์เมชคืออะไร

แชร์ให้เพื่อน :

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไวร์เมชคือตะแกรงเสริมคอนกรีต ที่ช่วยให้คอนกรีตแข็งแรง แต่ยังมีไวร์เมชอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กับงานฝ้า นั่นคือ กัลวาไนซ์ไวร์เมช

วิธีการติดตั้งฉนวนกั้นความร้อนโดยใช้ กัลวาไนซ์ไวร์เมช (TPK Galvaniaze Wire mesh) ในการรองรับฉนวน เชื่อมตะแกรงเหล็กใต้แป ปูน ฉนวนในช่องแป หลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ Metal Sheet ช่วยรองรับน้ำหนักของฉนวนกันความร้อนและให้งานเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น

* ติดตั้งได้ทั้งอาคารเก่าและใหม่
* โครงสร้างหลังคาที่เป็นโลหะ

แชร์ให้เพื่อน :

การเลือกซื้อไวร์เมชให้เหมาะสมกับงานก่อสร้าง

แชร์ให้เพื่อน :

การเลือกซื้อไวร์เมชให้เหมาะสมกับงานก่อสร้าง
* เลือกซื้อไวร์เมชจากโรงงานที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ ม.อ.ก. 737-2549 ASTM A185-79, BS4483  ซึ่งคุณมั่นใจได้ว่าเป็นไวร์เมชได้มาตรฐานอย่างแน่นอน
* เลือกใช้ไวร์เมชให้เหมาะกับลักษณะงานเช่น งานปูพื้นบ้าน ซึ่งรับแรงไม่มาก ก็ใช้ไวร์เมชที่ลวดที่เส้นไม่ใหญ่นัก และตาห่างไม่ต้องถี่ก็ได้ แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องรับแรงมากๆ เช่นงานทำถนน อาจจะต้องเลือกไวร์เมชที่ลวดเส้นใหญ่เช่นลวด 6 มม. ขึ้นไปและตาห่างมาขึ้น และลวดอาจจะเป็นลวดข้ออ้อยก็จะดีมาก
* เลือกซื้อไวร์เมชจากบริษัทที่มีบริการขนส่ง เพราะการขนส่งจากบริษัทจะง่ายไม่ยุ่งยาก และประหยัดค่าใช้จ่ายตีรถไปรับสินค้าเอง
* วัดขนาดพื้นที่ของหน้างานก่อนทำการสั่งไวร์เมช เพื่อจะได้คำนวนพื้นที่งาน และสั่งไวร์เมชได้ตามขนาดที่ต้องการใช้งาน

 

แชร์ให้เพื่อน :

ที่มาของการเปลี่ยนเหล็กเส้นมัดหรือเหล็กผูก มาใช้เหล็กไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ที่มาของการเปลี่ยนเหล็กเส้นมัดหรือเหล็กผูก มาใช้เหล็กไวร์เมช

หลายคนที่ไม่ใช่ช่างยังสงสัยว่า เหล็กมัดหรือเหล็กผูกที่นำเหล็กแท่งมาผูกกับลวดผูกเหล็ก และไวร์เมช (wire mesh) คืออะไร ???
ที่จริงแล้วเหล็กเหล็กไวร์เมชคือโครงสร้างเหล็กที่ทำไว้เพื่อให้ปูนหรือซีเมนต์ ยึดเกาะติดกัน ไม่แตก เหมือนกับว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสิ่งก่อสร้างเช่นลานจอดรถ สนามบิน ถนน พื้นบ้าน อาคาร โรงงานต่างๆ เลยก็ว่าได้

ในสมัยก่อนเรานิยมวัดพื้นที่ ความกว้าง ความยาว ขนาดของงานที่เราจะเทพื้น หรือราดคอนกรีตทำถนน ว่ากว้างเท่าไหร่ ยาวเท่าไหร่ เสร็จแล้วเราก็จะสั่งเหล็กเส้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตามที่เราได้คำนวนถึงค่าความแข็งแรงต่างๆไว้ แล้วนำมามัดหรือผูก สานให้เป็นลักษณะตาข่ายเพื่อวางไว้เป็นโครงสร้างก่อนการเทคอนกรีต เพื่อใช้รับแรงหรือเพิ่มความแข็งแรงให้กับพื้น

เหล็กผูกแบบเดิม

ที่นี้จะเห็นได้ว่ามันมีขั้นตอนที่มากมาย ยุ่งยาก ไหนจะเป็นขั้นตอนการวัด คำนวนขนาด และขั้นตอนที่เสียเวลามากที่สุด คือขั้นตอนการผูกเหล็กเส้น เพราะต้องใช้ทั้งเวลา และก็คนงาน มาทำงานทำให้เสียค่าใช้จ่าย เสียเวลาไปมาก ดังนั้นเลยมีการคิดค้นและลดขั้นตอนการผูกเหล็กลง ตอนนี้ไวร์เมช wire mesh หรือตะแกรงสำเร็จรูป ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก แทนที่การผูกเหล็กแบบเดิม  แทบได้ว่าเป็นการพลิกโฉมการเทพื้นในปัจุบันก็ว่าได้ เพราะไวร์เมช wire mesh หรือ ตะแกรงสำเร็จรูปนั้น ผลิตด้วยวิธีที่ทันสมัย ไม่ได้ใช้ลวดผูกเข้าด้วยกัน แต่เป็นการใช้การอาร์ค ให้เหล็กหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน จากการทดสอบในห้อบแลป wire mesh ทนทานต่อการรับแรงดึง มากกว่าเหล็กผูกทั่วไป ในปริมาตรเหล็กที่น้อยกว่า กล่าวคือไวเมท wire mesh ใช้เหล็กน้อยกว่า แต่ทนรับแรงดึงที่มากกว่า และมีจุดคลาทที่สูงมาก ทำให้ช่างนิยมหันมาใช้เหล็กไวร์เมชแทนการผูกเหล็กแบบเดิมเป็นอย่างมาก

และในปัจจุบันยังมีการคิดค้นเหล็กไวร์เมช ที่เรียกว่า ไซเบอร์ไวร์เมช คือเป็นลวดเส้นเล็กๆ ที่นำมารวมกับคอนกรีตและเทพื้นได้เลย แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะใช้งานค่อนข้างยุ่งยาก ไวร์เมชแบบแผ่นจริงยังได้รับความนิยมอยู่อย่างมาก

ขอบคุณ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=dumdin&date=17-05-2013&group=1&gblog=23

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงไวร์เมช ใช้ในงานประเภทไหนบ้าง

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงไวร์เมช ใช้ในงานประเภทไหนบ้าง
เราทราบกันดีแล้วว่า ตะแกรงไวร์เมชนั้น ใช้เพื่อเสริมคอนกรีตให้แข็งแรงขึ้น เรามาดูกันดีกว่า ตะแกรงไวร์เมชนั้นใช้ในงานแบบไหนบ้าง

– พื้นคอนกรีตทุกชนิด เช่น พื้นดิน (SLAB ON GROUN) ,พื้นอาคารบ้านเรือน พื้นลานจอดรถ เป็นต้น
– พื้นบนคาน (SUSPENDED FLOORS) , ใช้ไวร์เมชบนพื้นบนคานบ้านเพื่อช่วยให้พื้นบ้านชั้นบนมีความแข็งแรง
– หลังคา (ROOF FLOOR) พื้นแบบนี้ จะใช้ กัลวาไนซ์ไวร์เมช เพื่อรองรับฉนวนกันความร้อนที่ปู
– ปูก่อนเทคอนกรีตทับหน้า (TOPPING OF PRECAST FLOOR)
– พืนสำหรับงาน POST TENSION
– ถนนคอนกรีต ลานจอดรถ สนามบิน ลานโกดัง เป็นต้น พื้นที่ต้องรับแรงมากๆ แบบนี้ จะใช้ไวร์เมชแบบข้ออ้อย และมีขนาดลวดที่ใหญ่ตั้งแต่ 6 มม. ขึ้นไป และตาห่างต้องถี่มากขึ้น
– ผนังรับแรง (BRARING WALL) กำแพงดิน) นอกจากนี้ ไวร์เมชแบบม้วนยังใช้เพื่อก่อกำแพงเพื่อรับผนังได้อีกด้วย
– ท่อ BOX COVERT ท่อขนาดใหญ่ อย่างเข่นท่อระบายน้ำ ที่อยู่ใต้ถนนก็ใช้ ไวร์เมชเพื่อรับแรงได้เช่นกัน 

ไวร์เมชนั้นใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะใช้งานง่าย และสะดวกรวดเร็ว 

 

ลานจอดรถ ก็ใช้ไวร์เมชเสริมความแข็งแรงให้กับพื้น

 

ถนนคอนกรีต ก็ใช้ไวร์เมชเสริมความแข็งแรงให้กับพื้น

 

 

Runway สนามบินก็เลือกใช้ไวร์เมช เพื่อเสริมความแข็งแรง

แชร์ให้เพื่อน :

ข้อควรระวังในการใช้ไวร์เมชเทพื้นคอนกรีต 

แชร์ให้เพื่อน :

ถึงแม้ว่าเหล็กตะแกรงไวร์เมช จะได้รับความนิยมในการใช้งานเทพื้นคอนกรีต

เนื่องจากใช้งานง่ายและสะดวกสบาย ประหยัด และรวดเร้วมนการทำงาน 

แต่ก็มีข้อที่ควรปฏิบัติและระมัดระวังในการใช้งานไวร์เมชอยู่ เรามาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

ข้อควรระวังในการใช้ไวร์เมชเทพื้นคอนกรีต 

* ระวังไม่ให้ไวร์เมช จมพื้นดิน ไม่ควรเหยียบเหล็กตะแกรงไวรืฌมช ขณะปฏิบัติงาน  ควรใช้ลูกปูนรองตะแกรงไวร์เมช ก่อนเทคอนกรีต 

ภาพลูกปูนรองตะแกรงไวร์เมช

ภาพลูกปูนรองตะแกรงไวร์เมช

ขอขอบคุณภาพจาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=makok82&month=08-04-2008&group=2&gblog=4

* การวางเหล็กไม่ควรวางบนดิน ควรใช้แผ่นพลาสติกปูรองพื้นก่อนเพื่อป้องกันดินด้านล่างดูดน้ำปูน และป้องกันความชื้นจากพื้นดินซึมผ่านแผ่นพื้นคอนกรีตขึ้

* เลือกใช้ขนาดของเหล็กเส้นไวร์เมชให้เหมาะสมกับงาน
โดยช่างจะเป็นคนเลือกใช้ว่าจะใช้ขนาดเท่าไหร่ กับกน้างาน ชนาดของเหล็กไวร์เมช มีตั้งแต่ 3,4,6,8,9,12 มม หรือตามสเปกของลูกค้า 

การเลือกใช้ไวร์เมชเทพื้นคอนกรีต https://www.ไวร์เมช.net/2017/02/15/การเลือกซื้อไวร์เมชให้/

* ควรวางไวร์เมช ให้พ้นจากพื้นประมาณ 1/3 ของขนาดความหนาของคอนกรีต 

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการผลิตตะแกรงไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการผลิตไวร์เมช

ตะแกรงไวร์เมชที่ใช้เสริมคอนกรีตนั้นมีขั้นตอนการผลิตโดยใช้เครื่องจักร ตะแกรงไวร์เมชจึงได้มาตรฐานตรงตามต้องการในการใช้งาน โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. คัดเลือกเหล็กเส้นหรือลวกเหล็กตั้งแต่ 3-6 มม. หรือมากกว่านี้โดยลวดอาจจะเป็นเหล็กเส้นข้ออ้อยก็ได้
2. นำเหล็กเข้าเครื่องอาร์คไวร์เมชโดยกำหนดขนาดช่องว่าง อาจจะมีตั้งแต่ 20*20 ซม / 25*25 ซม. เป็นต้น
3. ได้ตะแกรงไวร์เมชที่ได้มาตรฐานต่อการนำไปใช้งาน โดยตะแกรงไวร์เมชมีหลากหลาย เช่น ไวร์เมชกลมขนาดลวด 3.0-4.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 3 มม. ตาห่าง 25ซมx25 ซม. กว้าง 2 เมตร  ยาว 25 เมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 25 เมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร

ไวร์เมช ข้ออ้อย ขนาดลวด 4.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมช ข้ออ้อย 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร
* ไวร์เมช ข้ออ้อย 4 มม. ตาห่าง 15ซมx15 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร

ไวร์เมช ข้ออ้อย ขนาดลวด 6.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย  6 มม. ตา 15 ซมx15 ซม. กว้าง 3 ม. ยาว 10 เมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย  6 มม. ตา 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 ม. ยาว 6 เมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย  6 มม. ตา 20ซมx20 ซม. กว้าง 3 ม. ยาว 6 เมตร

เป็นต้น

แชร์ให้เพื่อน :